วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ลูกทอร์คเกียร์ ลูกค้าส่งมา วิเคราะห์อาการเสีย

ตรวจเเช็ครถ stacker 24v

ชุดเกียร์ทอร์ครถโฟล์คลิฟท์ชำรุด

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ซ่อมตู้ชาร์จรถกอล์ฟ 48v

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

จำหน่าย หม้อต้มแก๊สรถโฟล์คลิฟท์ ทุกยี่ห้อ






หลักการทำงานของหม้อต้มแก๊ส


หม้อต้มแก๊สหรือ Reducer ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะของแก๊สซึ่งปกติแล้วเวลามันอยู่
ในถังแก๊สจะเป็นของเหลว (เหมือนที่เห็นในไฟแช็คอ่ะ เป็นอย่างนั้น)ให้กลายเป็นไอ
(แก๊สจะกลายเป็นไอได้ต้องลดแรงดันลง) โดยแก๊สจากถังจะต้องผ่านหม้อต้มแก๊ส
เพื่อเปลี่ยนสถานะให้เป็นไอและส่งต่อเข้าไปยังเครื่องยนต์ ที่นี้การเปลี่ยนสถานะของ
แก๊สให้กลายเป็นไอก็ต้องใช้พลังงานมาช่วยก็คือพลังงานความร้อนจากระบบระบาย
ความร้อนของรถยนต์คือน้ำจากหม้อน้ำนั่นเองจะช่วยให้แก๊สเปลียนสถานะได้เร็วขึ้น

หม้อต้มแก๊ส LPG ก็จะมีอยู่ 2 ระบบ
1. หม้อต้มแก๊สระบบดูด หม้อต้มระบบนี้จะไม่มีแรงดันให้แก๊สออกครับ จะต้องอาศัยแรง
ดูดจากเครื่องยนต์เท่านั้นถึงจะมีแก๊สออกไป
2. หม้อต้มแก๊สระบบแก๊สหัวฉีด หม้อต้มแบบนี้จะมีแรงดันประมาณสัก 2 บาร์ได้
เพื่อส่งแก๊สไปที่หัวฉีดและจ่ายแก๊สออกไปเมื่อหัวฉีดเปิดครับ
 มาว่ากันถึงเสป็ค หม้อต้มแก๊ส 
ปกติแล้วหม้อต้มแก๊ส จะมีเสป็คบอกไว้ว่ารองรับเครื่องได้กี่แรงม้าไม่ใช่ว่าใส่แล้ว
จะมีแรงม้าตามที่ระบุเหมือนที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งนั่นหมายถึงเข้าใจผิดครับ เช่น
เครื่องยนต์มีแรงม้า 100 แรงม้า ถ้าติดหม้อต้ม 200 แรงม้า เครื่องก็มี 100 แรงม้าเท่า
เดิม (ก็ม้าที่มีมาจากโรงงานมันแค่ 100 ตัวนี่)
แต่ถ้าหากเครื่องยนต์ 100 แรงม้า ติดหม้อต้มที่มีกำลังจ่ายแค่ 80 แรงม้า อย่างนี้มี
ปัญหาครับเวลาใช้แก๊สจะเร่งไม่ค่อยออกครับเพราะแก๊สไม่พอเลี้ยงม้า 100 ตัวของ
เครื่องยนต์ครับ อย่างน้อยเครื่องยนต์มี 100 แรงม้า หม้อต้มแก๊สก็ควรจะรองรับ
ได้สัก 100 แรงม้าหรือให้ดีเผื่อสักนิดเป็น 120 แรงม้าไรทำนองนี้ก็ได้ครับ จะได้ไม่มี
ปัญหาแก๊สจ่ายไม่พอเวลาเร่งรอบสูงๆหรือต้องการกำลังฉุดลากมากๆ ครับ

ปกติทั่วไปมันไม่เป็นไรก็ไม่มีใครจะไปรื้อมันหรอกครับ
งั้นหาเหตุที่จะรื้อดีกว่า
1. กินแก๊สมากผิดปรกติ
2. จูนไม่จบสักทีเปลี่ยนหัวฉีดแล้วด้วย
3. สตาร์ทยากเปลี่ยนหรือเช็คหัวฉีดแล้วด้วยเหมือนกัน
4. เร่งไม่ขึ้น อืดผิดปรกติ
5. น้ำในหม้อน้ำหายหรือมีคราบน้ำที่หม้อต้ม
เมื่อนับได้ 5 ข้อแล้ว ก็มารื้อเปลี่ยนชุดซ่อมกันดีกว่าครับ 555
จะอธิบายจุดต่างๆไปด้วยครับ แบบง่ายๆก็แล้วกัน

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์

เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน(ติดเครื่อง)ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น เช่น ลูกสูบ แหวนลูกสูบ ข้อเหวี่ยง ฟันเฟือง และระบบลิ้น หรือชิ้นส่วนต่างๆ ที่เคลื่อนไหวในการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนเหล่านั้น จะทำให้เกิดการสึกหรอขึ้นด้วยการเสียดสี
ดังนั้นในระบบนี้จึงใช้น้ำมันที่มีความเหนียวเข้าไปหล่อเป็นน้ำมันหล่อลื่น  โดยการใส่เข้าไปไว้ในห้องข้อเหวี่ยงซึ่งอยู่ตอนล่างของเครื่องยนต์ ที่เรียกว่าอ่างเครื่องน้ำมันเครื่องจะขึ้นมาหล่อลื่นได้ดังนี้คือ
1.  โดยการตักของข้อเหวี่ยง  เนื่องจากข้อเหวี่ยงข้างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายช้อนยื่นออกไป และตักน้ำมันขึ้นมาในขณะที่เคลื่อนที่หมุน และจากแรงเหวี่ยง จะสลัดน้ำมันเครื่องขึ้นไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว และไหลกลับลงสู่อ่างเครื่อง
2.  โดยการใช้ปั๊มพ์สูบน้ำมันเครื่อง ส่งไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ วิธีนี้มักใช้กับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ เพราะว่าจำเป็นต้องส่งน้ำมันเครื่องขึ้นไปหล่อลื่นเป็นจำนวนมากและระยะไกลๆ และไหลกลับลงสู่อ่างเครื่อง
ประโยชน์ของการหล่อลื่น
1.  เพื่อทำให้เกิดการสึกหรอน้อยลง  เนื่องจากน้ำมันเครื่องทำให้ลื่น จึงมีการเสียดสีน้อย
2.  เพื่อช่วยระบบความร้อน ในตอนที่ขึ้นไปหล่อลื่นนั้นจะมีความร้อนติดน้ำมันลงสู่อ่างเครื่องยนต์ด้วย แต่เครื่องยนต์ขนาดใหม่ๆ บางอย่างจะจัดให้น้ำมันเครื่องไหลไประบายความร้อนเช่นเดียวกับน้ำ โดยการจัดรังผึ้งให้อยู่คู่กัน
หลักของการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
สำหรับเครื่องยนต์ที่เริ่มใช้ใหม่ๆ ให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อ 80 ชั่วโมงทำงาน หรือ  ขั้นต่อไป 160 ชั่วโมงทำงาน  และต่อไปให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อ
1.  น้ำมันเครื่องเสีย ซึ่งอาจเกิดจากน้ำเข้าผสมหรืออื่นๆ
2.  เมื่อครบจำนวนเวลาทำงาน เช่น 250-300 ชั่วโมงหรือทุกๆ  1 เดือน
วิธีเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
1.  ให้เปิดจุกก้นอ่างน้ำมันเครื่องให้น้ำมันเครื่องไหลออกให้หมด  ในขณะที่น้ำมันเครื่องกำลังมีความร้อนอยู่หรือภายหลังจากดับเครื่องยนต์ใหม่ๆ ถ้าเครื่องยนต์เย็นควรติดเครื่องยนต์ให้ร้อนเสียก่อน
2.  ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ควรเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเสียด้วย แล้วเติมน้ำมันเครื่องใหม่ให้เต็มหม้อกรอง
3.  เติมน้ำมันเครื่องใหม่ตามนัมเบอร์ที่เคยใช้มาแล้ว ให้ได้ระดับขีดที่มีเครื่องหมายบอกเอาไว้
4.  ควรจะติดเครื่องยนต์ให้เบาๆ ไว้สักประมาณ 5 นาที แล้วจึงดับเครื่องและทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที จึงวัดใหม่ดูแล้วเติมให้ได้ระดับขีด ที่กำหนดไว้อีกครั้งหนึ่ง (ถ้าน้ำมันไม่ถึงขีด)
อันตรายจากน้ำมันเครื่อง รั่ว เสื่อม หรือมีน้อย
1.  แบริ่งก้านสูบ และแบริ่งใหญ่ข้อเหวี่ยงละลาย
2.  เครื่องยนต์แตก เนื่องจากก้านลูกสูบหักและขัดตัวกับข้อเหวี่ยง
เมื่อเครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ และน้ำมันเครื่องหมดหรือมีน้ำมันเครื่องน้อย เมื่อรถตะแคงเครื่องยนต์ก็จะเสียทันที ภายในเวลา 5 นาที หรือ 10 นาทีเท่านั้น
การเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันเครื่องยนต์
ระบบเกียร์
อุณหภูมิกว่า 40°F
สูงกว่า 40°F
ใช้เกรด 36-40ใช้น้ำมันเครื่องเกรด 50-60 หรือใช้น้ำมันเกียร์เกรด 90-140
เครื่องยนต์กินน้ำมันเครื่องมาก สาเหตุ
1.  น้ำมันเครื่องรั่วตามส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ จะสังเกตได้จากมีน้ำมันสีดำๆ เปียกชื้น ควรรีบแก้ไข
2.  ลูกสูบหลวม เนื่องจากการสึกหรอระหว่างลูกสูบกับแหวนลูกสูบ มีช่องหลวมเกินไป
3.  แหวนลูกสูบ
-ใส่แหวนลูกสูบผิดหน้า
-ปากแหวนตรงกันทั้งหมด
-แหวนลูกสูบหัก
-ปากแหวนห่างเกินไป ควรห่างประมาณ .002 นิ้ว
-ปลอกนำลิ้นหลวมควรเปลี่ยนใหม่
-ใส่น้ำมันเครื่องเกินระดับที่กำหนดไว้
สำหรับการใส่แหวนลูกสูบนั้น ควรจัดระยะมุมของปากแหวนให้อยู่เท่าๆ กัน และก่อนใส่ควรตรวจดูเสียก่อน ว่าหน้าไหนใหญ่หรือมีตัวหนังสือกำกับไว้ให้ใส่ไว้ข้างบน